วันพฤหัสบดีที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ธรณีประวัติ


ธรณีประวัติ
http://www.vcharkarn.com/
 
การวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตมีหลายลักษณะคือ การดำรงอยู่ การเกิดใหม่ การกลายพันธุ์และการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ต่าง ๆ 

ข้อมูลทางธรณีวิทยาที่สามารถอธิบายความเป็นมาของพื้นที่ในอดีตได้แก่ อายุทางธรณีวิทยา ซากดึกดำบรรพ์  โครงสร้างและการลำดับชั้นหิน


 อายุทางธรณีวิทยา

อายุทางธรณีวิทยาแบ่งเป็น 2 แบบคือ อายุเปรียบเทียบ และอายุสัมบูรณ์

1. อายุเปรียบเทียบ (relative age) เป็นอายุหินเปรียบเทียบซึ่งบอกว่าหินชุดใด มีอายุมาก หรือน้อยกว่ากัน อายุเปรียบเทียบหาได้โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุ ลักษณะการลำดับชั้นของหินชนิดต่าง ๆ  และลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาของหิน แล้วนำมาเทียบสัมพันธ์กับช่วงเวลาทางธรณีวิทยาที่เรียกว่า ธรณีกาล (geologic time) ก็จะสามารถบอกอายุของหินที่เราศึกษาได้ว่าเป็นหินในยุคไหน หรือมีช่วงอายุเป็นเท่าใด

2. อายุสัมบูรณ์ (absolute age) เป็นอายุของหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ ที่สามารถบอกเป็นจำนวนปีที่ค่อนข้างแน่นอน การหาอายุสัมบูรณ์ใช้วิธีคำนวณจากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสีที่มีอยู่ ในหิน หรือซากดึกดำบรรพ์ที่ต้องการศึกษา ธาตุกัมมันตรังสีที่นิยมนำมาหาอายุสัมบูรณ์ ได้แก่ ธาตุคาร์บอน–14 ธาตุโพแทส เซียม–40 ธาตุเรเดียม-226 และธาตุ ยูเรเนียม-238 เป็นต้น
 
การหาอายุสัมบูรณ์มักใช้กับหินที่มีอายุมากเป็นแสนเป็นล้านปี เช่น หินแกรนิตบริเวณฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ซึ่งเคยเป็นหินต้นกำเนินแร่ดีบุก มีอายุสัมบูรณ์ประมาณ 100 ล้านปี ส่วนตะกอน และซากดึกดำบรรพ์ที่มีอายุน้อยกว่า 50,000 ปี มักจะใช้วิธีกัมมันตภาพรังสีคาร์บอน-14 เช่น ซากหอยนางรมที่วัดเจดีย์หอย อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี มีอายุประมาณ 5,500 ปี

http://en.wikipedia.org/


 ซากดึกดำบรรพ์

http://en.wikipedia.org/

-  ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เมือตายลงซากก็ถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน

-  ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี หมายถึง ซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด

-  ซากดึกดำบรรพ์ส่วนใหญ่มักพบอยู่ในลักษณะ ปรากฏเป็นซากเดิมหรือโครงร่างส่วนที่แข็งที่อยู่ในหินตะกอน

-  ประเทศไทยมีการค้นพบซากไดโนเสาร์ครั้งแรกที่ อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่นคือ ไดโนเสาร์ประเภทเดินสี่เท้า กินพืชเป็นอาหาร คอและหางยาว

-  ซากไดโนเสาร์ที่พบส่วนมากทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในชั้นหินทรายแป้ง เป็นหินอยู่ในยุคไทรแอสสิกตอนปลายถึงยุคครีเตเชียสตอนกลาง

-  ซากดึกดำบรรพ์ที่เป็นพืชที่เคยพบในไทยได้แก่ ใบไม้  ละอองเรณู  สปอร์  สาหร่ายทะเลและไม้กลายเป็นหิน

-  ลักษณะของซากดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏในปัจจุบันมีลักษณะหลายประการคือ  
1. แข็งกลายเป็นหิน  
2. อยู่ใสภาพแช่แข็ง 
3. ถูกอัดในยางไม้หรืออำพัน

http://en.wikipedia.org/

-  หินที่สามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ดีคือ  หินตะกอน เนื่องจาก ซากดึกดำบรรพ์นั้นเกิดได้ยาก เนื่องจากในธรรมชาติวัตถุต่างๆ ย่อมเกิดการสลายตัวไปตามกาลเวลา การเกิดเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้นั้นมักจะเกิดจากการที่ซากนั้นได้รับการปกป้องห่อหุ้มไปด้วยการทับถมของตะกอนต่างๆ ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์จึงมักจะพบได้ในชั้นหินตะกอน

 หิน


  
ชัยทศ จำเนียรกุล

หิน (Rock) เป็นมวลของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ แบ่งออกเป็น ประเภทใหญ่ๆ คือ

1. หินอัคนี (Igneous rocks) คือ หินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด หินหนืดเมื่อยู่ภายในเปลือกโลกเรียกว่าแมกมา (Magma) เมื่อผุดพ้นออกมาบนผิวโลก เรียกว่า ลาวา (Lava)  การเย็นตัวของแมกมาเป็นไปอย่างช้าๆ ส่วนการเย็นตัวของลาวาจะเป็นไปอย่างรวดเร็ว  มีผลทำให้หินอัคนีมีลักษณะต่าง ๆ กัน 

2. หินตะกอนหรือหินชั้น (Sedimentary rocks) คือ หินที่เกิดจากการทับถมของตะกอน ตะกอนเหล่านี้เกิดจากการ       ผุพัง แตกสลายของหินอัคนี หินแปร

3. หินแปร (Metamorphic rocks) คือ หินที่แปรสภาพไปจากเดิม  โดยการกระทำของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี

http://en.wikipedia.org/

การลำดับอายุของชั้นหินจากอายุน้อยไปหาอายุมากคือ หินทราย หินกรวดมน  หินปูน  หินดินดาน

การศึกษาธรณีประวัติทำให้ได้ประโยชน์คือ นำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม สำรวจหาทรัพยากรธรณี

 เหตุผลที่ยืนยันว่าบริเวณพื้นที่จังหวัดลำปางเมื่อหลายล้านปีก่อนเคยเป็นทะเลมาก่อนคือ พบซากดึกดำบรรพ์ของหอยกาบคู่และหอยงวงช้าง สะสมในชั้นหิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น